กลยุทธ์เบื้องต้น |
เขียนโดย ธรรมธร ไกรก่อกิจ (Zen) | |
หน้า 7 จาก 8
ในหน้านี้เราจะอธิบายถึงหลักการเดินในเกมโอเทลโล่กันบ้างซึ่งต้องเข้าใจเรื่อง Mobilityก่อน Mobility คือ ตาเดินที่ผู้เล่นสามารถเดินได้ทั้งหมด
รูปที่ 5.19 ตาหมากดำเดินผู้เขียนมักยกตัวอย่างหมากในลักษณะนี้เพื่ออธิบายเรื่องMobilityเสมอ (รูปที่ 5.19) สังเกตจะพบว่าหมากขาวล้อมหมากดำทั้งหมด หรือเรียกได้ว่าหมากขาวทุกตัวล้วนเป็นFrontier ในขณะที่หมากดำอยู่ภายใน หรือเรียกว่า Internal Disc หากเปรียบเทียบตาเล่นของหมากดำแล้ว มีมากถึง 22 ตาเดิน ในขณะที่หมากขาวไม่มีตาเดินแม้แต่ตาเดียว! หากหมากดำเดินที่C1 หรือ D1 หรือ E1 หรือ F1 ก็จะชนะได้ง่ายดาย เพราะสามารถควบคุมเกมที่ขอบบนได้ ที่ต้องกล่าวถึงMobilityในตอนนี้ ก็เพราะหลักการในการเดินของโอเทลโล่ คือ การทำให้คู่ต่อสู้มีตาเล่นลดลงนั่นเอง (จนเกือบหมด หรือไม่เหลือตาเล่นเลย ดังเช่นรูปที่5.19) ในขณะเดียวกันก็หาทางเพิ่มตาเดินให้กับตนเอง โดยไม่จำกัดเทคนิคและวิธีการ ดังตัวอย่างต่อไป
รูปที่ 5.20 ตาหมากดำเดินรูปที่ 5.20 ลองสังเกต หากรูปนี้เป็นตาขาวเดิน ตาขาวแทบไม่มีทางเลือกให้เดินแล้ว ทุกที่นั้นแพ้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น G7 ดำได้มุม H8 ทันที, E1 ดำก็เข้ามุมH1, B1 หมากดำเข้ามุมA1, B2 หมากดำก็หาทางเข้ามุมA1ได้ เช่นกัน แล้วหมากดำควรทำอย่างไรเมื่อตานี้กลับเป็นตาหมากดำเดิน
ใช่แล้ว B7 นั่นเอง!!! หมากขาวจะมีตาเดินเพิ่มจากเดิมแค่ที่เดียว คือ B8 แล้วหมากดำก็จะได้มุมA8 ชนะทันที (รูปที่ 5.21)
รูปที่ 5.21 ดำเดินที่ B7จากตัวอย่างดังกล่าวจะพบว่าหากผู้เล่นเข้าใจเรื่อง Mobilityแล้ว ตำแหน่ง X Square หรือ C Square นั้นสามารถเดินได้ และไม่ใช่ว่า X Square หรือ C Square จะไม่ดีเสมอไป หากตาเดินนั้นสามารถลดตาเล่นของคู่ต่อสู้เพื่อบังคับเกม หรือ เพื่อเอาชนะได้ ก็สามารถเดินได้เช่นกัน 5.2 หลักการเดินหมากในเกมโอเทลโล่ ผู้อ่านคงพอเข้าใจแนวคิดของการเดินหมากไปบ้างแล้ว ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายการเดินหมากในโอเทลโล่ที่ผู้เขียนได้แบ่งไว้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เพื่อเป็นหลักการคิด สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ในการเล่นโอเทลโล่ได้อย่างแท้จริง จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้เล่นโอเทลโล่มานาน และจำนวนเกมนับไม่ถ้วนนั้น ผู้เขียนขอจำแนกการเดินในโอเทลโล่ตามความเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
5.2.1 การเดินเพื่อสร้างตาเดินต่อๆไป (Set up The Move)
รูปที่ 5.22 ตาหมากดำเดินจากรูปที่ 5.22 หมากดำต้องการเดินที่E7 หมากดำควรทำอย่างไร?
รูปที่ 5.23 หมากดำเดินที่ C3หมากดำเดินที่C3 ดังรูปที่ 5.23 แน่นอนว่าเป็นการเปิดเกมไปด้านนอก แต่ก็คุ้มค่า เพราะหมากดำได้สร้างตัวหมากที่E5 ไว้เพื่อรอเดินE7 เมื่อไหร่ก็ได้ เพราะหมากดำที่E5 ถูกห่อหุ้มด้วยหมากขาวอยู่จึงปลอดภัยจากการถูกพลิกคืนเป็นสีขาว การสร้างตาเดินนั้นต้องอาศัยประสบการณ์การเล่นพอสมควร เพราะในการสร้างตาเดินเราอาจจะสร้างWall หรือ อื่นๆไปด้วยก็ได้ 5.2.2 การผ่าหมาก การผ่าหมาก การผ่าหมากคู่ต่อสู้ออกไปตรงๆ บางครั้งก็สามารถใช้ในการเล่นได้เช่นกัน ซึ่งผู้เขียนขอแบ่งการผ่าหมากไว้สองประเภท
รูปที่ 5.24 ตาหมากดำเดิน
รูปที่ 5.25 หมากดำเดินที่D6รูปที่ 5.24-5.25 หมากดำเดินที่D6 เพื่อทำการผ่าหมากขาวออกเป็นหลายส่วน ตาต่อไปหมากขาว จะพบว่าหมากขาวเหลือตาเดินค่อนข้างน้อย เพราะถูกดำผ่าออก หากเดินที่ ตำแหน่ง C6 ไม่น่าจะดี เพราะสร้างWall, G4 ก็เปิดเกมออกไปดำเดินที่ F5 หรือ G3 ได้ ดังนั้นC2 น่าจะดูดีที่สุดแม้จะดูรูปร่างไม่ค่อยดีนักก็ตาม การผ่าหมากในลักษณะนี้เราจะเรียกว่า Checkerboarding ซึ่งคาดว่าคงมาจากกระดานหมากฮอส หากพิจารณาpattern ที่เกิดขึ้นในตำแหน่ง C2, D2, E2, C3, D3, E3, C4, D4, E4 จะพบว่ามีรูปแบบที่ หมากขาวและหมากดำสลับกันไปทั้งแนวตั้งและแนวนอน (คล้ายกระดานหมากฮอส) ทำให้หมากขาวเดินได้ลำบาก
รูปที่ 5.26 ตาหมากดำเดินรูปที่ 5.26 หมากดำถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก C4 C5 ส่วนที่สอง E3 F3 G3 ทำให้เดินได้ลำบาก
รูปที่ 5.27 หมากดำเดินที่ G4หมากดำทำผ่าหมากที่G4 ตัดหมากขาวออกเป็นสองส่วน และเชื่อมต่อหมากตนเอง ทำให้เดินได้ง่ายขึ้น และเกิดตาเดินใหม่ที่ C6 และ D2 5.2.3 การเดินเพื่อการกัน (Blocking) การกันสามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธีได้แก่
การทำลายตัวหมากที่คู่ต่อสู้ต้องการเดิน (Denying Access) คือ การพลิกตัวหมากที่ทำให้คู่ต่อสู้ลงในตำแหน่งต้องการไม่ได้
รูปที่ 5.28 ตาหมากขาวเดินจากรูปที่ 5.28 หากเป็นตาหมากดำเดินสามาถเดินได้หลายที่ แต่ที่ดีที่สุดคือ E3 เพราะพลิกหมากคู่ต่อสู้น้อย และค่อนข้างQuiet ที่สุด คำถามคือ หมากขาวควรทำอย่างไรให้หมากดำเดินที่E3 ไม่ได้
รูปที่ 5.29 หมากขาวเดินที่B6หมากขาวอาจจะเดินB4 B5 หรือ B6 ก็ได้ (รูปที่ 5.29 เดินที่ B6) เพื่อพลิกหมากดำที่ C5 ออก ทำให้หมากดำเดินที่E3 ไม่ได้
รูปที่ 5.30 หมากดำเดินที่C6
ตัวอย่างต่อไป ต่อเนื่องจากรูปที่แล้ว หมากดำเดินที่C6 เพื่อสร้างตาเล่นใหม่ที่D3
รูปที่ 5.31 หมากขาวเดินที่B5หมากขาวทำการกันต่อโดยพลิกหมากดำที่D5ออกไป เพื่อกันไม่ให้หมากดำเดินที่D3 การทำให้ตำแหน่งที่คู่ต่อสู้ต้องการเดินไม่ดี หรือวางยา (Poisoning Move)
รูปที่ 5.32 ตาหมากขาวเดินรูปที่ 5.32 หากเป็นตาหมากดำเดิน หมากดำคงจะต้องการเดินที่C3 ที่ดูเป็นQuiet Moveมากที่สุด
รูปที่ 5.33 หมากขาวเดินที่C2หมากขาวเดินที่C2 เพื่อทำการวางยา หากหมากดำเดินที่C3 (รูปที่ 5.33)คราวนี้หมากดำจะพลิกหมากขาวที่D3 E3 F3 และเกิดWallทันที การเดินตำแหน่งนั้นเองเลย (Taking The Move Yourself) คือ การเดินตำแหน่งที่คู่ต่อสู้ต้องการเดินเองเลยเพียงแต่ผู้เล่นต้องแน่ใจว่าเดินตรงนั้น แล้วหมากเรานั้นจะไม่เสียเปรียบไปด้วย
รูปที่ 5.34 ตาหมากขาวเดินรูปที่ 5.34 ตาหมากขาวเดิน หมากขาวเดาได้ว่าหากหมากดำจะเดินต่อไปหมากดำอาจจะต้องการเดินที่ F3 เพราะไม่มีผลเสียเท่าไรนักและอยู่กลางกระดาน
รูปที่ 5.35 หมากขาวเดินที่F3หมากขาวจึงตัดสินใจกันตาเดินโดยการเดินที่F3 เองซะเลย ซึ่งเป็นตาเดินที่ค่อนข้างดี และไม่เสียเปรียบ 5.2.4 การเดินเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ การเดินหมากในเกมโอเทลโล่ยังมีการเพื่อวัตถุประสงค์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การล่อให้คู่ต่อสู้แทรก การเดินเพื่อเพิ่มหมากเสถียรช่วงท้ายเกม การวางกับดักสโตนเนอร์ (Stoner Trap) ฯลฯ ในที่นี้จะยกตัวอย่างให้ดูเพื่อความเข้าใจเพียง 1 ตัวอย่าง
รูปที่ 5.36 ตาหมากดำเดิน
รูปที่ 5.37 หมากดำเดินที่ C7
รูปที่ 5.38 หมากขาวเดินที่ D7
รูปที่ 5.39 หมากดำเดินที่D8 ตามแผนรูปที่ 5.36-5.39 หมากดำเดินเพื่อวางเยื่อล่อไว้ที่C7 หากหมากขาวไม่ระวังเดินที่D7 หมากดำจะโจมตีที่D8 ทันที ซึ่งหมากขาวไม่สามารถป้องกันได้ (ไม่เดินจะเสียมุม) จำเป็นต้องลงC8 และเกิดWall ขึ้นทันที C4-C8 เป็นอันจบกลยุทธ์ช่วงกลางเกม ผู้อ่านมาถึงตรงนี้คงมีความเข้าใจมากขึ้นทั้งหลักการของเกม และหลักการเดิน หลังจากนี้จะเข้าสู่กลยุทธ์ในช่วงท้ายเกม ที่ค่อนข้างพิเศษกว่าส่วนอื่นๆ |